ผู้แทนจาก FAO และสมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกรพร้อมกรมปศุสัตว์ ให้ความรู้เรื่องโรคสุกรที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียในประเทศไทย และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มสุกร นายสิทธิพันธ์ ธนาเกียรติภิญโญ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ได้กล่าววัตถุประสงค์ต่อประธาน ถึงการอบรมทั้ง 2 หัวข้อในการให้ความรู้ ความเข้าใจ ตามเกณฑ์ของกรมปศุสัตว์ และสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ในกรณีของการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ขอขอบพระคุณทุกภาคส่วนที่ให้การสนับสนุนในการอบรมในครั้งนี้
นายชาญประเสริฐ พลซา ปศุสัตว์สัตว์จังหวัดขอนแก่น เป็นประธานกล่าวเปิดงานสัมมนา ได้กล่าวยินดีกับผู้ประกอบการฟาร์มคนรุ่นใหม่ที่ช่วยกันขับเคลื่อน โดยจะมีฟาร์มทั้ง 3 ขนาด ประกอบด้วย รายเล็ก รายกลาง และรายใหญ่ การประกอบอาชีพการเลี้ยงสุกร ต้องเผชิญปัญหาอย่างมากมาย เช่น ปัญหาโรคระบาด โดยปัจจุบันในพื้นที่ขอนแก่นมีเกษตรกรอยู่ประมาณ 3,000 ราย แต่มีความมาตรฐานเพียงแค่ประมาณ 250 ฟาร์ม ซึ่งในปัจจุบันมาตรฐานฟาร์มมีความจำเป็นในการประกอบอาชีพการเลี้ยงสุกร ในการอบรมวันนี้ขอให้ทุกท่านได้ใช้โอกาสนี้นำความรู้ไปใช้ ให้เป็นประโยชน์ต่อฟาร์ม โดยการทำฟาร์มที่ไม่มีปัญหาโรคสุกรถือว่าโชคดี ปัจจุบันราคาสุกรพันธุ์ ราคาหมูขุนมีราคาที่เริ่มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขอขอบพระคุณตัวแทนจาก FAO สมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกรไทย สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ สมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชมรมผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ที่ร่วมกันจัดงานสัมมนาในครั้งนี้
คุณ Mary Joy Gordoncillo ผู้ประสานงานภูมิภาคเรื่องเชื้อดื้อยา จาก FAO ซึ่งมีการนำเสนอภารกิจของ FAO เครือข่ายการดูแลการเปลี่ยนแปลงด้านปศุสัตว์อย่างยั่งยืน ความมั่นคงทางอาหาร เป้าหมายการให้โปรตีนของปศุสัตว์ทั้งโลก โดยเฉพาะเอเชีย ที่สุกรเป็นอาหารโปรตีนหลักโดย FAO มองการเลี้ยงสุกรสนับสนุนการดำรงชีวิตของเกษตรกรรายย่อยหลายล้านคน และ มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจชนบทและการบรรเทาความยากจน
โดยภารกิจด้านสุกรหลักจะรองรับการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก ความต้องการอาหารเพิ่มขึ้น การเพิ่มของการผลิตสัตว์ การลดการใช้ยาต้านจุลชีพ ลดความชุกของเชื้อดื้อยาเพื่อลดปัญหาด้านสุขภาพประชากรโลกและเศรษฐกิจโลกที่จะมีผลตามมา
ต่อมาจะเป็นการนำเสนอเรื่องโรคสุกรจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่พบบ่อยในประเทศไทย โดยนายกสมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกรไทย สัตวแพทย์หญิง ดร.เมตตา เมฆานนท์ และ นายสัตวแพทย์วีระเดช โพธาคณาพงศ์
โดย สัตวแพทย์หญิง ดร.เมตตานำเสนอในหัวข้อเชื้อแบคทีเรียก่อโรคสุกร ที่มักพบในประเทศไทยโดยแยกเป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรคสำคัญในทางเดินหายใจของสุกร และทางเดินอาหารของสุกร การวินิจฉัยโรคและการเก็บตัวอย่าง แนวทางปฏิบัติการใช้ยาต้านจุลชีพทางคลินิก และวัคซีนป้องกันโรคแบคทีเรียในสุกรเพื่อลดการใช้ยาต้านจุลชีพ
โดยในส่วนของนายสัตวแพทย์วีระเดช นำเสนอทางเลือกการผลิตภัณฑ์ทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ Alternative Antibiotics หรือ ATA ช่วงสุดท้ายก็จะบรรยายถึงระบบความปลอดภัยทางชีวภาพในฟาร์มสุกร โดยการบรรยายของนายสัตวแพทย์วีระเดช เป็นการให้ความรู้ในการดูแลบริหารจัดการฟาร์มในด้านของความปลอดภัยทางชีวภาพ ซึ่งเป็นการให้ข้อมูลที่สามารถนำไปเป็นคู่มือในการปฏิบัติการด้านการบริหารจัดการฟาร์มสุกรได้อย่างถาวร
ในส่วนของการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มสุกร นำเสนอโดยผู้บริหาร 3 ท่าน ของสำนักงานปศุสัตว์เขต 4 ได้แก่ นายสัตวแพทย์ศิลปกิจ บุญโพธิ์ ผู้อำนวยการส่วนมาตรฐานการปศุสัตว์ บรรยายถึงความรู้ความเข้าใจตามเกณฑ์ของกรมปศุสัตว์ นายสัตวแพทย์ปัญญาวัฒน์ ใสกาง นายสัตวแพทย์ชำนาญการพิเศษ นำเสนอในเรื่องของกฎหมายที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสุกรและด้านปศุสัตว์ สุดท้ายจะเป็นการบรรยายของสัตวแพทย์หญิงเกตุวดี โคตรภูเวียง นายสัตวแพทย์ชำนาญการพิเศษ จะเป็นในเรื่องของการขอใบอนุญาตผลิตสัตว์ การค้าด้านการเกษตร หรือ มกษ.2 ซึ่งรายละเอียดจะอยู่ใน TAS license ทั้งหมด
การจัดครั้งต่อไปจะมีขึ้นวันอังคารที่ 27 สิงหาคม 2567 จะมีการจัดในพื้นที่ภาคตะวันตก ที่ห้องกัลปพฤกษ์ อาคารราชบุรีเกมส์ ศาลากลางจังหวัดราชบุรี ตั้งแต่เวลา 08:30 ถึง 13:00 น. โดยผู้เข้าร่วมอบรมต้องลงทะเบียนล่วงหน้าโดยการสแกนคิวอาร์โค้ดตามประกาศการรับสมัคร เพื่อยืนยันการเข้าร่วม
Download เอกสารประกอบการบรรยาย
เรื่องใกล้เคียง
#ICVS2024 English sessions 28-29 November 2024 Registration is now open ! Click
สัตวแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ และ สมาคมสัตวบาลแห่งประเทศไทยฯ ขอเชิญลงทะเบียนร่วมงานประชุมวิชาก […]
***ICVS 2024 Call for abstract*** “Kindly refer to the guidelines and scan QR code for a sample of t […]
มาแล้ว! กิจกรรมวันป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโลก โดยสถานเสาวภา สภากาชาดไทย• ทั้งงานแสดงโชว์จากสุนัขทหาร หน่วยบัญชาการอากาศโยธิ […]