สัตวแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปภัมภ์ฯ ร่วมกับ กรมปศุสัตว์ สัตวแพทยสภา สมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสัตว์ปีก และ สมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกร ประกาศเจตนารมณ์ ควบคุมการใช้ยาปฏิชีวนะในฟาร์มปศุสัตว์ ตั้งเป้าการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพของประเทศไทย ลดปริมาณการใช้ยาปฏิชีวนะในสัตว์ลงร้อยละ 30 ภายในปี 2564
วันนี้ (7 ส.ค.61) นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานเปิดงานสัมมนาหลักสูตร“มุ่งมั่นรวมใจ สินค้าปศุสัตว์ไทย ปลอดภัยจากยาปฏิชีวนะ” พร้อมแสดงวิสัยทัศน์การใช้ยาปฏิชีวนะในวงการปศุสัตว์ โดยมีนายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ ในฐานะนายกสัตวแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ฯ ผศ.นายสัตวแพทย์ ดร.ธวัชชัย ศักดิ์ภู่อร่าม นายกสัตวแพทยสภา ผศ.นายสัตวแพทย์ ดร. สุเจตน์ ชื่นชม นายกสมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกรไทย และน.สพ.สุเมธ ทรัพย์ชูกุล นายกสมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสัตว์ปีก ร่วมแสดงวิสัยทัศน์ ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ กรุงเทพฯ
นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า กรมปศุสัตว์เป็นองค์กรหลักที่ขับเคลื่อนการปศุสัตว์ไทย สู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนในตลาดโลก โดยมีภารกิจกำหนดทิศทาง นโยบาย ควบคุม กำกับ ส่งเสริม วิจัย ถ่ายทอดเทคโนโลยี พัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับการปศุสัตว์ เพื่อให้ปศุสัตว์และสินค้าปศุสัตว์มีมาตรฐาน ถูกสุขอนามัย ปราศจากโรค สารตกค้าง และสารปนเปื้อน มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม และสามารถแข่งขันได้ในระดับสากล สำหรับปัญหาการดื้อยาปฏิชีวนะ ถือเป็นปัญหาสำคัญ และกำลังอยู่ในความสนใจในระดับนานาชาติ ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน โดยมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพของประเทศไทย นอกจากนี้กรมปศุสัตว์ยังได้บรรจุโครงการ “การเลี้ยงสัตว์ปลอดการใช้ยาปฏิชีวนะในระบบการผลิตสินค้าปศุสัตว์” ลงในแผนปฏิบัติการการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560-2564 ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายของแผนยุทธศาสตร์ที่จะลดปริมาณการใช้ยาปฏิชีวนะสำหรับสัตว์ลงร้อยละ 30 ภายในปี 2564 อีกทั้งการที่กรมปศุสัตว์มีหน้าที่ในการตรวจประเมิน รับรอง กำกับ ดูแล การผลิตสินค้าปศุสัตว์ทั้งห่วงโซ่ โดยเริ่มตั้งแต่โรงงานผลิตอาหารสัตว์ ฟาร์มมาตรฐาน รวมถึงสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์ม ที่เป็นภาคส่วนที่มีการใช้ยาปฏิชีวนะ และในส่วนของโรงฆ่าสัตว์ สถานที่จำหน่ายสินค้าปศุสัตว์ เป็นภาคส่วนที่มีการตรวจสอบการตกค้างของยาปฏิชีวนะ
เรื่องใกล้เคียง
#ICVS2024 English sessions 28-29 November 2024 Registration is now open ! Click
สัตวแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ และ สมาคมสัตวบาลแห่งประเทศไทยฯ ขอเชิญลงทะเบียนร่วมงานประชุมวิชาก […]
***ICVS 2024 Call for abstract*** “Kindly refer to the guidelines and scan QR code for a sample of t […]
มาแล้ว! กิจกรรมวันป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโลก โดยสถานเสาวภา สภากาชาดไทย• ทั้งงานแสดงโชว์จากสุนัขทหาร หน่วยบัญชาการอากาศโยธิ […]